Tuesday, 24 February 2009
เรื่องเศร้าวันนี้
เรื่องราวระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ในวงการเรียนป โท หรือ ป เอกของนักศึกษาและอาจารย์มีหลายหลาย หลากรส เปรี้ยวหวานมันเค็มว่ากันไป
โจกับจูเรียน ป เอก ทีมหาลัยแห่งหนึ่ง โจเพิ่งเริ่มเรียนเลยขอความเห็นจากจูรุ่นพี่ที่เรียนมากว่า 8ปี ยังไม่จบซักที "พี่จู ทำไมไอ้วิทยานิพนธ์อะไรนี่มันยากนักเหรอครับ หรืออาจารย์เค้ากั๊กพี่ไว้ทำงานให้"
"ก็เหนื่อยเหมือนกัน โจ"
"พี่ก็มีภาระต้องทำ ไหนจะงาน ไหนจะลูกเมียก็ต้องเลี้ยงดู"
จูนิ่งไปซักพัก ตาลอย มองหาคำตอบ
"แต่ พี่ว่า ไม่เป็นไร.. ว่ากำลังจะเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา แล้วจะถามว่าอาจารย์รู้มั้ยว่าลูกปืนนัดนึงน่ะ มันสามสิบบาทเอง"
อาจารย์โอเป็นอาจารย์หนุ่มไฟแรง ทำงานวิจัยเก่ง สอนดีลูกศิษย์เยอะ
อู๋ นักศึกษาต่างมหาลัย นักธุรกิจงานรัดตัว เรียนจบน่าจะได้เกียรตินิยม ติดวิทยานิพนธ์ตัวเดียว(ยี่สิบหน่วยกิต)
อู๋ได้ยินชื่ออาจารย์โอจากเพื่อนที่เรียนสาขาเดียวกัน จึงโทรศัพย์ติดต่อ ขอพบ
"เอ่อ.. จารย์ครับ คือผมยังไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษาเลยครับ" อู๋ถามกลัวๆกล้าๆ
"อ้าว ทำไมล่ะ ก็คุณมี คณะ..สาขานี้..แล้วทำไมบอกว่าไม่มีอาจารย์"
"คือนักศึกษาเยอะ อาจารย์ค่อยไม่มีครับ ส่วนใหญ่มากจาก ม.ของรัฐ ไม่ได้นั่งประจำครับ แค่มาสอนเป็นครั้งๆตอนเรียน อาจารย์ผมให้ออกมาหาที่ปรึกษาข้างนอกเอง" อู๋เริ่มชักแม่น้ำทั้งห้า
"อ้าว แล้วทำไมมหาลัยคุณไม่ได้ติดต่อมาเป็นทางการกับผมครับ ปรกติเป็นแบบนั้นไม่ใช่หรือครับ"
"คือ..เอ่อ ผมก็อยากมาปรึกษาอาจารย์นี่แหละ ครับ คือ..เอ่อ ผมก็ไม่ค่อยมีเวลา" แล้วมันจะเอาอะไรวะ(อาจารย์โอเริ่มงงงง)
"คือ.. ผมได้ยินว่า แบบว่า..มีเพื่อนเค้าให้อาจารย์คนอื่น ทำให้ทั้งหมดน่ะครับแล้วก็มีค่าทำให้"
"แล้ว..อาจารย์ทำแบบที่เพือนผมเค้าเคยทำได้หรือเปล่าครับ"
มีเรื่องจริงอีกมาก ที่ฟังแล้วว้าเหว่แบบเรื่องเหล่านี้
ระบบการเรียน ปริญญาโทถูกสร้างให้นักศึกษาต้องเรียนครึ่งนึง ทำวิจัยครึ่งนึง ซึ่งดีและผลิคคนดีๆให้สังคมมามาก
แต่คนส่วนใหญ่ไปเข้าใจเอาเองว่า ไอ้วิจัยหรือวิทยานิพนธ์นี่ก็แค่"วิชานึง"
เป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยเพราะมันคิดว่าก็แค่"วิชานึง"
พอเรียนไปก็สร้างเงื่อนไขให้ตัวเองและคนอื่นๆ ว่าต้องทำงานไปด้วย
งานก็ทำ วิจัยก็เอา เครียดกันทั้งคนเรียนคนสอน
หลักสูตรให้เรียน"เต็ม"เวลา ลองคิดดูท่าน"เต็ม"เวลาเหมือนตอนเรียนปตรีหรือมปลายหรือไม่ "จันทร์ถึงศุกร์ เช้าถึงเย็น"น่ะ เอาง่ายๆถ้านึกไม่ออก
ผู้ใหญ่ก็สร้างหลักสูตรนอกระบบแบบไม่ต้องทำวิจัย แต่ทำรายงานชิ้นเล็กๆพอ (ก็แล้วแต่จะเรียกสารพัดชื่อ)
บางท่านก็ไม่เลือกเรียน เพราะผู้ใหญ่ถือโอกาสเก็บเงินหลักสูตรแบบนี้แพง(มาก)
ผู้ใหญ่ไม่มี"ลูกค้า"ก็รับนักศึกษาเพิ่มมาเยอะๆเพื่อให้ภาพรวมมันคุ้มทุน
อาจารย์ก็เลยไม่พอ
อาจารย์ที่มีก็ต้องรับจ๊อบนอกบ้าง วิ่งกันไปวิ่งกันมาจนปวดหัว (สังเกตหรือไม่ว่าหลักสูตรชื่อคล้ายๆกันในหลายๆมหาลัย อาจารย์ก็หน้าเดิมๆวิชาเดิมๆ)
นักศึกษาตกค้างจบบ้างไม่จบบ้าง เยอะไปหมด วุ่นวายทั้งอาจารย์ทั้งลูกศิษย์
เวลานี้ในเมืองไทย ถ้าถามนักศึกษาที่กำลังจะจบปตรีว่าเรียนจบจะทำอะไรต่อ
เกินครึ่งบอกว่าจะต่อโท ถามต่อว่าทำไม คำตอบคือ เดี๋ยวนี้ปตรีมันไม่พอ แต่กลับไม่รู้ว่าไม่พอกับใคร กับตัวเอง หรือสังคม แล้วรู้หรือไม่ว่าอะไรรอคุณอยู่ เรียนปโทเป็นเรื่องดีมาก แต่ท่านพร้อมกับมันหรือไม่
สังคมไทยวัดคุณค่าของคนด้วยขั้น ฐานะและชั้นวรรณะ ไม่ใช่ตัวตนหรือสิ่งที่เราทำ
สังคมเราเป็นอย่างที่เป็น เพราะสังคมเข้าใจผิดเป็นอย่างยิ่งถึง"รากเหง้า"ของจุดมุ่งหมายของการศึกษา
Monday, 23 February 2009
ลึกแต่ไม่ลับจากนิยายสามก๊ก
เมื่อวานเค้าบอกว่าวิศวกรและสถาปนิกจะตกงานอีกกว่า 6,000คน
ฟังแล้วเศร้า
ผมจะคุยให้ฟังว่าอะไรทำไม โครงสร้างวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทในแวดวงสถาปนิก ก่อสร้างหรืออสังหา ถึงพยายามเข้าใจตัวเราเองยากได้ขนาดนั้น(หรือจนถึงเดี๋ยวนี้ก็ไม่เข้าใจเลยพากันล้มไปเรื่อยๆ)
จริงๆโครงสร้างผู้เล่นทั้งสามกลุ่มรวมตัวกันโดยมีลักษณะหลวมๆแต่คล่องแคล่ว มีที่มาที่ไป มีรูปแบบเฉพาะที่่ชัดเจนไม่เหมือนใคร
เล่าปี่เริ่มต้นจากความลำบาก ทำงานหนัก(สานรองเท้าฟางขาย)ชอบศิลป การละคร อดทนอดกลั้น รู้จักคำว่ารอคอย
โจโฉมีชีวิตที่ดีแต่เริ่ม เกิดในตระกูลขุนนาง เรียนเก่ง เป็นทหารโดยวิชาชีพ ใจเด็ดเดี่ยว คำไหนคำนั้น ตัดสินใจเร็ว ใจกล้า ใจถึง เหี้ยมโหดกับคนทรยศ
ซุนกวนมองเห็นคนอื่นๆลำบากเพื่อตนเองมามาก จึงรู้จักใช้และบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งส่วนที่มีมากและส่วนที่มีจำกัด รักพวกพ้อง ไว้ใจลูกน้องและรักสงบ มือประสานสิบทิศ
เล่าปี่อธิบายบริบทของการเริ่มต้นที่ดีและการบริการโครงสร้างของบริษัทออกแบบ
เล่าปีเชื่อใจลูกน้องจนในองค์กรไม่มีคำว่าลูกน้อง แต่มีความเป็นเป็นเพื่อนตาย ที่ร่วมรับผิดชอบงานเหมือนๆกัน จนลูกน้องรักและเคารพจากใจ ถึงแม้รบแพ้หลายครั้ง(เหมือนบริษัทออกแบบที่ส่วนใหญ่ลำบากที่จุดเริ่มต้น)เล่าปี่บริหารทักษะของคนจากความเชื่อใจไว้ใจ เพราะเล่าปีรู้ว่าคนเก่ง คนพิเศษอย่าง กวนอู เตียวหุย ซื้อไม่ได้ เล่าปี่อ่านคนนิสัยขาด แม้จูกัดเหลียงยังยอมสยบให้ ทุกคนอยู่กับเล่าปี่มีแต่ความจน แต่คนเก่งๆยังอยากอยู่เพราะความสุข อิ่มเอิบที่ได้แสดงความคิด ความสามารถ ความรับผิดชอบ เมื่อหมดยุคของสามก๊ก เล่าปี่เป็นผู้นำราชวงศ์ฮั่นที่่ประชาชนรักและนับหน้าถือตาที่สุดจากใจ เหมือนผู้ออกแบบที่ที่สุดแล้วถ้ามีความเป็นกลาง มีคุณธรรมเหมือนเล่าปี่ คนจะฟังความเห็นและน่าเชื่อถือมากที่สุด
โจโฉทำให้ภาพผู้รับเหมาในการบริหารลูกน้องและความผิดพลาดที่ต้องแก้ไขชัดเจนขึ้น
โจโฉฉลาดเป็นกรด มีลูกล่อลูกชน อ่านยากแต่ดูง่าย บางครั้งประมาท เนื่องจากสงครามของโจโฉส่วนใหญ่เป็นการจงใจยึดครองเพื่อเอาชนะด้วยเงื่อนเวลา จึงมีสงครามหลายด้านโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว จึงต้องทำศึกเร็วและแรงและคุมลูกน้องอย่างเด็ดขาด เบ็ดเสร็จ สั่งไปตายต้องตาย ทำดี ตบรางวัลให้สุดๆ เรื่องทรยศทุจริตลงโทษตายสถานเดียว โจโฉรู้ว่าลูกน้องพร้อมทรยศทุกเมื่อ (ทุจริต) แทนที่จะจับมาประหารเลือกที่จะบริหารระดับของความทรยศให้ควบคุมได้ (สังเกตได้จากสงครามอ้วนเสี้ยว โจโฉจับได้ว่า ลูกน้องส่งจดหมายขอสวามิภักกับศัตรูแต่โจโฉไม่ลงโทษลูกน้องหรือทำอะไรเลย กลับแกล้งโง่ แต่จำไว้รอเช็คบิล)ทหารของโจโฉได้ชื่อว่าน่าเกรงขามและเก่งที่สุด แต่หลอกง่ายที่สุดถ้าขาดแม่ทัพนายกอง (บอกอะไรเราได้)
ซุนกวนคือคำตอบบนยอดพิรามิดของผลผลิตในฐานะดีเวลลอปเปอร์ ซุนกวนสืบสมบัติมาจากพ่อและพี่ที่ต้องตายเพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน ดีเวลลอปเปอร์ไทยมักมีโมเดลแบบนี้ที่เอาที่ดินหรือสมบัติจากรุ่นก่อนๆมาขายและพัมนา (แม้เนเชอเรลพาร์ค จะแตกต่าง)เห็นคุณค่าของเงินและเวลามาก (เค็มและเก็บทุกรายละเอียด)มองเห็นเรื่องต่างๆผ่านตามาเยอะ (ซุนกวนปกครองยาวที่สุดได้กว่าห้าสิบปี) จึงเลือกไม่ทะเลาะกับใครเพราะรู้ว่าต้องใช้ทุกคน มีทรัพยกรมาก ประชาชนเป็นสุข (บริษัทฯต้องดูดี น่าทำงานด้วยที่สุด)มีขุนศึกที่จงรักภักกดีมากชื่อจิวยี่ ดีเวลลอปเปอร์ขาดคนคนนี้ไม่ได้ (ลองไปคิดดูว่าคือใครและจิวยี่มีลักษณะ อุปนิสัยอย่างไร)ในสมัยซุนกวนซึ่งเป็นรุ่นลูกเมื่อเทียบกับ โจ โฉและเล่าปี่ ซุนกวนกลับมีแผ่นดินมากที่สุดและร่ำรวยที่สุด ซุนกวนเคยเป็นพันธมิตรกับเล่าปี่เพื่อรับมือโจ โฉ แต่วันหนึ่งก็ส่งจิวยี่ไปซัดกับจูกัดเหลียง เพื่ออะไร (จิวยี่ต้องช้ำใจตายเพราะก็ด้วยอุบายของเล่าปี่)
เรื่องนิยายสามก๊กเป็นการหักเหลี่ยมเฉือนคม แค่เริ่มต้นจากประวัติเล็กน้อยก็บอกอะไรเกี่ยวกับเราๆท่านๆได้เยอะ
ลองไปอ่านดูครับ ถ้ามีเวลาผมจะเล่าให้ฟังอีก
วิศวกร วิศว(ที่มีแต่)กรรม
เรียนมาแทบตาย
ทำงานเหมือน(ค..าย)
หัวใจสลายได้เงินเดือนนิดเดียว
แถมเศรษฐกิจไม่ดีไอ้นี้แหละโดนเลย์ออฟออกก่อน
วิศวกรโยธา หรือสถาปนิกจบใหม่หลายคนเริ่มงานใหม่ด้วยความกระตือรือร้นครับ อยากลองวิชาก็เพราะใครใครก็รู้ว่ากว่าจะจบได้แทบตาย น่าสงสารที่วิศวกรในสายงานหรืออสังหาก่อสร้างนี้ตกเป็นกรรมของกระแสอุตสาหกรรมใหม่ในเมืองไทย หลายๆอย่างบ้านเรายังเป็นสัญญาณชัดเจว่าประเทศเรายังไม่พัฒนาไปถึงไหนไม่ว่าการเมือง กรอบธุรกิจ สังคม เมื่อเรียกว่ายังไม่พัฒนาก็บอกได้ว่าทำอะไรก็ยังพึ่งธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกรรมของรัฐ มีอะไรทีก็โหมงบประมาณเข้าไปที เมื่อเป็นอย่างนั้นการจับจ่ายก็เป็นวงรอบสั้นๆแบบตามใจฉัน เพื่อฉัน เมื่อฉันต้องการ ก่อสร้างอสังหามีขึ้นมีลงเนื่องจากนโยบายที่ปรับเปลี่ยนอย่างเร็วเพื่อกระตุ้นครับ(แต่บางทีก็ไม่กระเตื้อง)
ก็เหมือนวิศวกรโยธาที่มาเร็วไปเร็ว มาแรงไปแรง เนื่องจากงานดูไม่ยากไม่ซับซ้อนหาตัวตายตัวแทนง่าย น้องๆคนนึงเคยเล่าให้ฟังว่านายซึ่งเป็นผู้จัดการโครงการก่อสร้างซึ่งจบไฟฟ้า เคยพูดถึงขนาดว่า งานออกแบบของพวกคุณ(โยธา)ใครๆที่จบวิศวะ(หรือไม่จบ)ก็ทำได้ ก็แค่เปิดหนังสือดีไซน์เหมือนกัน(โห เจ็บ)สถาปนิกบางคนก็รับพร คล้ายๆกันเช่น โถ่ งานออกแบบของคุณก็แค่เปิดหนังสือเมืองนอกดูไปออกแบบไปเหมือนกัน (ลอก)
ปัจจุบันทั้งวิศวกรและสถาปนิก เงินเดือนในฐานในทั้งอุตสาหกรรมค่อนข้างต่ำ เมื่อรวมกับธรรมชาติของงานที่ความรับผิดชอบสูง ทำงานไม่เป็นเวลา มีจังหวะเร่ง จังหวะผ่อน กำหนดยาก (แม้เอาเข้าจริง จะมีแต่งานเร่งมากกว่า)ข้อผูกพันทางกฏหมายสูงมาก เซ็นแบบครั้งหนึ่งรับผิดชอบไปชั่วลูกชั่วหลาน(ดูซานติก้าเป็นตัวอย่าง)
ทำงานกับบริษัทฯที่เกี่ยวข้องกับอสังหาไม่รู้เป็นอะไร วิศวกรต้องรับกรรมก่อน เมื่อบริษัทฯต้องลดขนาด ตัดค่าใช้จ่าย มาได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ลดเวลาทำงาน ลดเงินเดือน ทำงานเป็นจ๊อบ จนขอให้ออกดีๆ
ทั้งหลายทั้งปวงเป้นเรื่องทัศนคติของสังคมต่อวิชาชีพล้วนๆ ตั้งแต่เรียน ทำงาน จนถึงความรับผิดชอบต่อวิชาชีพและสังคมละครับ
ที่ออกข่าวกันปาวๆว่า อาคารต้องควบคุมความปลอดภัยทุกส่วนมากกว่านี้ ต้องให้วิศวกร สถาปนิกเซ็นโน่นเซ็นนี่คุมกันตั้งแต่แบบจนถึงอาคารเสร็จ
ลายเซ็นไม่ได้ช่วยอะไร ที่ผ่านมาก็ผ่านไป เหมือนไฟไหม้ฟาง
คนเซ็นบางทีเขาก็ไม่อยากรับผิดชอบ ถ้าเขาอยากจะรับผิดชอบ บางทีไม่เห็นต้องบังคับให้เขาเซ็นอะไร
อยากเห็นความสำคัญของเขา อยากให้เขารับผิดชอบมากกว่านี้ ต้องมองเห็นหัวเขามากกว่านี้
วิศวกรครับ ไม่ใช่กรรมกร
Sunday, 22 February 2009
เรื่องไม่แฟร์..ของงานแฟร์
สำหรับเราๆท่านๆที่อยู่ในวงการนี้ นี่คือจุดเริ่มต้นอีกครั้งของการมองรอบตัวเราว่าปีนี้ ปีหน้าและปีต่อๆไป เทรนด์ของการออกแบบ การก่อสร้าง แฟชั่นและทิศทางของงานสถาปัตยกรรม ผลิตภัณฑ์ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร สำหรับท่านที่แต่งบ้านสร้างบ้านหรือบุคคลที่สนใจทั่วไป ก็คงแค่เตรียมช็อปกันล่ะครับ ทุกคนว่าแล้วก็เตรียมตัวมุ่งหน้าไปงานแฟร์เหมือนกัน
ว่ากันว่างานแฟร์ใหญ่ๆของวงการที่เป็น trend setter มีอยู่ 5หรือ6 แห่งในโลก ถ้าเป็นสถาปนิกดีไซน์จ๋าต้องลุยไปที่บาเซโลนา อินทิเรียร์ต้อง ซาลอน ดิโอเดอมิลาโน หรือฝรั่งเศส เมซอง โอเจ เกี่ยวข้องกับทุกเรื่องของบ้านหรืออาคารที่พักอาศัยแนวใหม่ๆต้องเพิร์ท ดาวอันเดอร์ ซื้อๆขายๆเพื่อการผลิตหรือนำเข้าส่งออกจริงๆต้องใกล้ๆนี้เองที่กวางโจว เซี่ยงไฮ้หรือเสินเจิ้น รวมรวบอสังหาหรือดีเวลลอปเปอร์หลากหลาย แนวใหม่จริงๆต้องสิงคโปร์เท่านั้น(แต่ปีนี้ถ้าจะแย่)
ที่ยากสำหรับเราๆท่านๆคืองานเหล่านี้เนื้อหา หลากหลายและมีมิติของรายละเอียดมาก เดินกันทั้งอาทิตย์ยังไม่หมด(บางทีก็ไม่รู้เรื่อง) บางงานถ้าเราไม่ได้ส่งผลงานประกวดแบบ(หรือส่งแล้วเค้าไม่รับ)หรือเจรจาการค้าจริงๆโอกาสที่จะเห็น เข้าใจ รายละเอียดของงานทั้งหมดนั้น ยาก และยากมาก ผู้ที่เข้าร่วมงานในฐานะexhibitorก็เน้นเฉพาะคนที่อยากคุยกับเขาจริงๆ บางงานนี้ท่านก็ไม่พูดสื่อสารภาษาอังกฤษเลย (เป็นเรื่องเข้าใจได้) หลายๆงานไม่ใช่ว่าเรามีเงินจ่ายbench feeก็เข้าได้ เดี๋ยวนี้ที่มีทัวร์ไปดูตามงานเหล่านี้ลูกทัวร์ก็มักถูกเอาไปปล่อยให้เดินดูเดินคุยกันเองตามมีตามเกิดตามเวรตามกรรม (เก็บเงินแทบตาย) บางงาน(หลายๆงานในบ้านเราที่มีเกลื่อน)ก็การค้ามากจนไม่เห็นอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เพราะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ คนที่ไม่ได้ติดตามงานทุกๆงานกันจริงๆมักเห็นว่าบางทีมันก็ยากที่จะเริ่มต้นนะครับ
ที่น่าสนใจคือ ทุกๆงานมีองค์ประกอบที่เชื่อมโยงและใช้อธิบายซึ่งกันและกัน ถึงแนวคิดของเทรนด์และทิศทางได้ในแต่ละปี
ก็น่าคิดน่าลอง และงานเดียวปีเดียว ไม่มีทางพอนะครับ
Tuesday, 17 February 2009
ความทุกข์ 8 ประการที่สถาปนิก(ต้อง)ทนได้เพื่อลูกค้าที่...
ต้องเข้าใจนะครับว่าลูกค้าอาจคุยกับหลายๆเจ้าเสมอ ท่านเสนออะไรเยอะมากก่อนตกลงกันได้ ท่านก็เสี่ยงเยอะ
2. เร่งจี๊ด
มาทุกแนวครับ แต่งงาน กลับจากเมืองนอก รีบปล่อยเช่า ไม่มีที่อยู่ ในที่สุดแบบไม่ถูกใจก็ไม่เร่งแล้ว(โอย...)
3. ไม่มีเวลา
ฝากให้คนอื่นอาจเป็นคนใกล้ชิดหรือผู้ช่วยดูแทนกัน บางทีสถาปนิกก็ต้องทำงานหลายรอบ ซ้าซ้อนครับ อธิบายมากก็ผิดมาก อธิบายน้อยก็ผิดทีหลัง
4. ดูแบบไม่เป็น
ขอแต่ตีป(หรือเดี๋ยวนี้หนักข้อเป็น Walk-through) เอาเหมือนในตีปเท่านั้น (แจกัน ภาพเขียน ดอกไม้ต้นไม้ นก หมา) สถาปนิกนะครับไม่ใช่ personal stylist
5. แก้จัง
ปรับโน่นเปลี่ยนนีตลอดเวลา ก็เข้าใจครับแต่ราคาที่ตกลงกันไว้รวมการเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า ทำแบบต้องคิดเยอะนะครับ ไม่ใช่แค่เส้นบนกระดาษ
6. ต่อแล้วไม่เอา
อันนี้แย่ ก็พี่ทั้งต่อ ง้อ ขู่ เอาเป็นเอาตายทั้งบอกว่าเนี่ยเพื่อนแนะนำมา หรือจะแนะนำงานต่อให้(งานนี้จะจบหรือเปล่ายังไม่รู้) ในที่สุดก็ไม่เอาซะเฉยๆ
7. ก่อสร้างไม่ดี โทษสถาปนิก
อ้าวก็ผู้รับเหมาของลูกค้าพามาเอง ตกลงราคากันเองและก็ไม่ได้จ้างสถาปนิกก็ไม่ได้คุมงาน
เพื่องานที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าของบ้านหรือคอนโด สถาปนิกต้องเข้าใจลูกค้านะครับ ยังงัยลูกค้าก็สำคัญที่สุดเสมอ
ความจริง 9 ข้อ ที่ผู้รับเหมาของคุณไม่เคยบอกคุณ (แต่อาจอยากจะบอก)
- ผมเดือดร้อนแล้วครับ อย่างที่เคยบอก บ้านเราผู้รับเหมานะเป็นง่ายนะครับ พอเป็นง่ายก็จบง่าย ไม่ว่าสารพัดปัญหาการเงิน หมุนไม่ทัน แบ่งงวดไม่เป็น ผมอยากได้งานเลยยอมลูกค้าทุกอย่าง หนี้เก่า รับงานไม่ไหวแล้ว เจ๊งมาจากงานอื่น ทำงานไม่เป็นก็ฮึกเหิมแล้วไปตายเอาดาบหน้า สถาปนิกมีงานทำอยู่แล้วอยากลองเป็นมือปืนแล้วก็บริหารไม่เป็นแบ่งเวลาไม่ได้ โกงกันเอง
- ราคาที่เสนอจริงๆแล้วผมทำไม่ได้ หลายสาเหตุครับ เสนอไปก่อนเพื่อให้ได้เงินมาหมุนได้ที่ยังเก็บไม่ได้ เสนอไปเป็นเดือนเป็นปีท่านก็ยังไม่อนุมัติ มาอีกทีราคาของขึ้นไปหมดแล้ว ลูกค้าต่อราคาก็หน้ามืดลดเพราะอยากได้งานเอาเข้าจริงทำไม่ได้
- ผมก็อยากมีที่ปรึกษา ไม่ใช่ทุกงานที่ผู้รับเหมาทุกคนตั้งแต่ ป4 ยันปริญญาเอกจะทำได้นะครับ ผู้รับเหมาไม่ใช่เทวดาจะได้ทำเป็นและรู้ทุกอย่าง งานยิบย่อยก็ต้องช่วยกันหลายฝ่ายทั้งรับเหมาช่วงและอื่นๆ บางครั้งก็อยากให้ลูกค้าอยู่ด้วยก็เพราะไอ้เรื่องความสวยงาม ความพอใจนี่ ลูกค้าหรือเจ้าของงานต้องช่วยผม
- สัญญาต้องดูให้ละเอียด อะไรรวมอะไรไม่รวม เดี๋ยวท่านจะมาโทษผมฝ่ายเดียวไม่ได้เวลามีปัญหา
- ถ้าไม่มีเงินจ่ายลูกน้อง ในที่สุดท่านเดือดร้อน ก็ทุกอย่างล่ะครับ กระทบกันไปหมด งานอื่นของผม งานอื่นของท่าน เงินของท่าน
- ท่านจ่ายช้าโทษผมไม่ได้นะ จ่ายช้างานผมก็ทำงานช้า เงินผมก็ต้องหมุน ไอ้ที่ผมจะกู้เงินมาทำก็ไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อน ต้องแฟร์ๆเหมือนกันนะครับ
- ผมมาทำงาน ต้องมีกำไรสิครับ แน่นอนผมมาทำงานให้ท่านไม่ใช่ทาสท่าน มีกำไรผมก็โชว์ให้ดู ถึงแม้ไม่มีท่านก็รู้แล้วว่าต้องมี มากน้อยท่านก็ต่อมาตั้งแต่แรกสิครับ ต่อแล้วก็จบทำงานกันไป อย่าหักคอผมทีหลังเลยครับ
- สิ่งที่ผมบอกไม่เป็นไรจัดให้ อาจทำให้ท่านเดือดร้อน อย่าบีบให้ผมทำทุกอย่างเลยครับ เทศกิจ ขออนุญาติ ต่อต่อคนโน้นคนนี้ ถ้าทำได้ท่านทำเองเถอะ ถ้าจะให้ผมทำต้องเข้าใจนะครับว่าไม่เหมือนตัวท่านเองและผมไม่ได้อะไรแต่ยินดีครับ
- ยิ่งไม่จำอย่าคิดว่ายิ่งดี จดเถอะครับ จดอยากได้อะไรสั่งเพิ่มลด บันทึกของท่านเองไว้ด้วยครับ
Sunday, 15 February 2009
บุญ 13ประการของนักการตลาดที่ต้องรีบทำ
นักการตลาดต้องอ่านจุดอ่อน จุดแข็ง ทั้งของตนเองและของคู่แข่งออกได้ทะลุปรุโปร่งเท่ากัน นักการตลาดที่ดีต้องเลือกใช้จุดแข็งตนเองกับจุดอ่อนคู่แข่ง
2. "อาหารข้าศึกหนึ่งถ้วยมีค่าเท่ากับของเรายี่สิบถ้วย ข้าวข้าศึกหนึ่งถังมีค่าเท่ากับของเรายี่สิบถัง"
นักการตลาดต้องทราบนะครับ ว่าการดับโอกาสของคู่แข่งมีค่ามากเท่ากับหรือยิ่งกว่าการสร้างโอกาสให้ตัวเราเอง
3. "บุกต้องมิหวังคำยกย่อง ถอยต้องมิกลัวอับอาย"
นักการตลาดบางครั้งกล้าลุยโดยไม่ใจยุทธวิธีอย่าตามตำราหรือมารยาทมากนัก อยู่สู้ถ้ารู้ว่าแพ้ ย่ำให้จมถ้ารู้ว่าเป็นโอกาส จำไว้ว่าคนอื่นเค้าก็ย่ำเรา(ถ้ามีโอกาส)
4. "หากมีกำลังมากกว่าสิบเท่า จงปิดล้อมข้าศึก หากมีกำลังมากกว่าห้าเท่า จงโจมตีข้าศึก หากมีกำลังมากกว่าสองเท่า จงแบ่งแยกข้าศึก หากมีกำลังเท่ากัน จงมองหาสมรภูมิอันได้เปรียบ หากมีกำลังน้อยกว่า จงตั้งรับ"
นักการตลาดของเราเคยวิเคราะห์และมีกลยุทธ์เป็นระบบแบบนี้หรือก็กะโหลกกะลาไปเรื่อยๆครับ
5. "สงคราม เป็นเรื่องสำคัญที่สุดของชาติ เป็นเรื่องถึงเป็นถึงตาย เป็นเรื่องของการอยู่รอดหรือล่มสลาย"
นักการตลาดทราบหรือไม่ว่าการแข่งขันเกิดตลอดเวลาไม่ว่าตอนเศรษฐกิจดีหรือแย่ เรารู้สึกตื่นตัวแบบนี้หรือยังครับ แบ่งทรัพยากรอย่างไร
6. "หากข้าศึกกู่ร้องกัน แสดงว่าข้าศึกเกิดความกลัว" "หากคนที่ตักน้ำแล้วดื่มเอง แสดงว่าเขากระหายน้ำจัด""หากกองทัพต้องใช้สินบนจูงใจไพร่พลมากเกินงาม แสดงว่ากองทัพกำลังคับขัน"
เราเคยสังเกตุอาการลูกค้า คู่แข่ง คู่ค้า ลูกทีม แบบนี้บ้างหรือไม่ สังเกตแล้วถ่ายทอดหรือไม่
7. "จุดอ่อนห้าประการของแม่ทัพคือ สู้ตายอาจถูกฆ่า กลัวตายอาจถูกจับ ฉุนเฉียวอาจถูกยั่ว เย่อหยิ่งอาจถูกหยาม ขี้สงสารอาจถูกก่อกวน"
หัวหน้างานทำตัวอย่างไรครับ ใจถึงและถึงใจหรือไม่ การเป็นผู้นำมีอะไรให้คิดเยอะ เรากำลังทำสงครามนะครับ ไม่ใช่ทำข้อสอบ บางครั้งจะระวังกันไปถึงไหน ท่านรู้ตัวหรือยังว่าเป็นผู้จัดการ เป็นผู้อำนวยการ
8. "เมื่อรบพึงชนะรวดเร็ว ยืดเยื้อกำลังย่อมเปลี้ย ขวัญทหารย่อมเสีย"
พี่ว่าเราการตลาดเราบางครั้งก็เชื่องช้าและอืดอาดที่สุด จนคนกันเองและทึมงานรอบตัวเริ่มเบื่อ ตอนนี้เรา take business initiative หรือไม่ กำลังใจสำคัญความความเป็นจริง และยิ่งถ้าเป็นแบบนั้นในช่วงที่ธุรกิจแย่ หรือลูกค้ามีปัญหามากๆ
9. "รบร้อยชนะร้อย ยังหาใช่ความยอดเยี่ยมไม่ มิต้องรบแต่ชนะได้ จึงเป็นความยอดเยี่ยม ชนะโดยไม่ต้องรบ คือ สุดยอดชัยชนะทั้งปวง"
ลูกค้าเราบริการได้จนเค้ายอมเราตั้งแต่ในมุ้งหรือเปล่าครับ ตอนนี้เราสร้างตลาดที่ไม่ต้องแข่งกับใครได้หรือยังครับ เราอยู่ในตลาดที่ไม่ต้องแข่งหรือยัง(หรืออย่างน้อยทำให้คู่แข่งไม่อยากแข่งด้วย)
10. "รุกปราศจากรับ.....ขาดความสุขุมรัดกุมรับปราศจากรุก.....ขาดความเข้มเเข็งแกร่งกร้าว หากทั้งรับ ทั้งรุกทั้งเคลื่อนไหว ทั้งสงบ ย่อมได้ชัยชนะ"
ทำอะไรต้องไปพร้อมๆกันนะครับ ออกแรงและคิดเยอะๆ อย่า Laidback มากเกินไป
11. คบไกลตีใกล้.. คบใกล้เพื่อหนุน คบมิตรเพื่องาน และ คบงานเพื่อเงิน(ของกองทัพ)
ตอนนี้เราแค่คบใกล้ๆ อีกสามอย่างที่เหลือไม่เห็นเคยทำ
12. "รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"
13. ยอดขายคือผลงาน รบชนะแต่ชื่อ ทำงานได้แต่กล่องก็ไม่มีประโยชน์ ประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะเท่านั้น แล้วอย่าลืมประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือนง่ายที่สุด
ข้อแนะนำที่ควรทำตามเพื่อจะได้ไม่ต้องทะเลาะกับใครเวลาท่านสร้างบ้าน
ลูกค้าจุกจิก รบกับผู้รับเหมา ทะเลาะกับผู้ออกแบบ จ่ายเงินไม่คุ้มงาน สร้างบ้านสักหลังมีแต่เรื่องนะครับ การทะเลาะ(กับใครก็ตาม)ในแวดวงก่อสร้างเหมือนเป็นของคู่กันกับการก่อสร้างซะแบบนั้น ลูกค้าหรือเจ้าของบ้านบางคนเบื่อพาลไม่อยากรับผิดชอบการสร้างมันซะเลย หลายปีมานี้ผมต้องให้คำปรึกษาหลายๆกรณี จากผู้รับเหมาบ้าง จากเจ้าของบ้านบ้าง สถาปนิกบ้าง ก็ต่างกรรมต่างวะระครับ การสร้างบ้านสักหลังเป็นเรื่องใหญ่ใช้เงินเยอะ ความเสี่ยงสูงสำหรับทุกฝ่าย เมื่อเรารู้แล้วว่ามันเสี่ยงเหลือเกินเราต้องควรระวังในการประคับประคองโครงการให้มันจบดีๆโดยเอาใจเขามาใส่ใจเรานะครับ เชื่อเถอะทุกฝ่ายอยากรีบทำรีบจบทั้งนั้น เจ้าของงานก็อยากได้โครงการสวยงามดังฝัน ผู้รับเหมาก็อยากส่งงานและได้เงินครบ สถาปนิกหรือนักออกแบบก็อยากส่งงานให้เสร็จจะได้เห็นงานของตัวเอง(และได้เงิน) มีคนกลุ่มเดียวที่อยากเห็นคนทะเลาะกันคือทนายความครับ อย่างไรก็แล้วเมื่อมีเรื่องขึ้นมาทุกฝ่ายก็เจ็บไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ วันนี้ผมมีข้อคิดง่ายๆให้ทุกฝ่ายลองพิจารณาเพื่อท่านจะได้ไม่ช้ำใจทีหลังครับ
- เลือกมืออาชีพในการทำงานหรือเลือกดูโหงวเฮ้งลูกค้าก่อน เจ้าของบ้านตรวจสอบให้ละเอียดนะครับ ถ้าท่านใช้ผู้ออกแบบอิสระหรือมือปืนท่านอาดได้ของถูก แต่เวลาทำงานเขาก็จำกัดมาได้ตอนดึกๆ คุมงานวันธรรมดาไม่ได้ เอกสารก็อาจไม่เรียบร้อย สัญญาก็อาจไม่ชัดเจน ท่านใช้บริษัทมืออาชีพก็ต้องแพงขึ้นมาแต่ความรับผิดชอบก็เป็นเงาตามตัว สถาปนิกหรือผู้รับเหมาเวลารับงานตรวจดูลูกค้าดีๆ ว่าเป็นเจ้าของจริงมั้ย เป็นตัวแทนหรือนายหน้าหรือไม่ เอาเงินจากที่ไหนมาทำกู้หรือสด เข้าใจในธรรมชาติงานก่อสร้างมากน้อยเพียงใด
- ให้เวลาซึ่งกันและกัน ผู้ออกแบบต้องเข้าใจว่าลูกค้ามีเวลาขนาดไหนในการมีส่วนร่วมในการออกแบบ ลูกค้าต้องคุยกับผู้ออกแบบให้ชัดเจนว่าผู้ออกแบบใช้เวลามากน้อยอย่างไรในการทำงานออกแบบ ต้องเข้าใจว่าเวลามากงานก็ดี เวลาน้อยคุณภาพก็แย่ลงครับ ไอ้ที่บอกราคานี้แต่จะเร่งให้ส่งงานได้ค่ะครับ ไม่มีหรอกครับ
- คนคุมประสานงานต้องมีและเก่ง หน้างานก่อสร้างอะไรก็ไม่แน่ สถาปนิกส่วนใหญ่หรือทั้งหมดชอบที่จะออกแบบอย่างเดียวครับ ถ้าจะให้คุมงานด้วยต้องมีสัญญาบริการแยกออกมา ในความจริงเราอาจจ้างที่ปรึกษาหรือคนคุมงานแยก แต่ในมุมมองผมผู้ออกแบบน่าจะเป็นคนคุมงานที่ดีที่สุดเนื่องจากแบบของตัวเองย่อมไม่มีคนอื่นเข้าใจได้ดีเท่าตัวเองครับ ท่านคงไม่อยากไปรบกับผู้รับเหมาเองใช่มั้ยครับ (ถึงแม้ว่าบางครั้งการคุมงานเองโดยเจ้าของงานก็เป็นผลดีมากกว่าเสีย)
- มีการวางแผนงานก่อสร้างอย่างชัดเจน ใช้อะไรก็ได้ครับ บ้านเรามีตั้งแต่softwareที่ยากๆ หรือใช้excel จนถึงการจดบันทึกวันเวลาที่จะเริ่มทำและจะทำงานนั้นให้เสร็จด้วยกรพดาษปากกาธรรมดา อะไรก็ได้ครับ ถ้าท่านไม่ทำท่านเสียเปรียบในการอ้างอิงทีหลัง
- มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงเสมอ ลูกค้าสั่งแก้งานท่านต้องเซ็นที่แบบ ผู้รับเหมาของปรับสเป็กท่านก็ต้องอนุมัติก่อน อย่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่ายนะครับ ทุกอย่างเป็นเงินเป็นทองเสมอ แม้แต่ของานแถมก็ต้องบันทึกนะครับ (จำไว้ว่าของฟรีไม่มีในโลก)
- ทุกฝ่ายต้องเข้าใจว่าอะไรคือสัญญา พูดไว้แล้วต้องทำ ผู้ออกแบบสัญญาออกแบบละเอียดจะแก้นิดแก้หน่อยก็ทำไปเถอะครับ ผู้รับเหมาส่งงานช้าก็ต้องปรับ เจ้าของบ้านท่านจะจ่ายเงินช้าดึงเงินผู้รับเหมาโดยเขาไม่ได้ผิดท่านก็ต้องนับวันที่ช้าเป็นวันทำงานเพิ่มเติมให้เขา เลิกซะทีเถอะครับทัศนคติที่ว่าผู้รับเหมารวยทุกคน เขาได้เงินท่านมาเขาก็ต้องเอาไปจ่ายลูกน้อง ช่าง ซื้อของ ทำสัญญาต้องเชื่อใจกัน ถ้าไม่เชื่อใจกันก็อย่าเซ้นแต่แรก
- พูดคุยเจรจาอย่างจริงจังทุกครั้ง เวลามีเรื่องเห็นไม่ตรงกัน คุยกันทุกครั้งและพยายามหาทางออกหรือเสนอแนวทางที่พอจะรับกันได้ เชื่อเถอะครับ ไม่คุยกันวันนี้ก็เจอกันที่ศาลก็ต้องมาคุยกันเองอยู่ดี ศาลไทยท่านชอบให้ไกล่เกลี่ยครับ ถึงวันนั้นมันสายไปแล้ว
บาป สิบประการของโฟร์แมน
2. ไม่รู้ความจริง เชื่อแต่สิ่งที่ผู้รับเหมาช่วง หรือโฟร์แมนของผู้รับเหมาช่วงพูดหรือสัญญาไว้ (ซึ่งบางครั้งก็ไม่รู้เรื่องและมั่วเหมือนกัน หรือถูกนายสั่งไม่ให้พูดความจริง) ไม่รู้จักช่าง ชื่ออะไร ติดต่อได้อย่างไร
3. ไม่ตรวจงานช่าง หรือไม่รู้จะไปตรวจอะไร ไม่รู้จักเทคนิค ไปดูงานแต่ไม่รู้ว่างานแบบไหน อะไรคือคุณภาพดี อะไรคือคุณภาพแย่
4. ไม่รอบคอบ สักแต่ทำงานหน้าใหญ่ให้เสร็จ ไม่ดูผลเสียที่จะตามมา
5. ไม่เคยผิดหรือถึงจะผิดก็หาข้อแก้ตัวสารพัด โทษคนอื่นเสมอ หาเหตุ หาแพะ ปัดสวะให้พ้นตัว
6. ไม่เคยดูแบบ ไม่รู้รายละเอียด ถามอะไรไม่เคยรู้ ต้องให้ถามแต่ผู้รับเหมา
7. ไม่สนใจงานเอกสาร ไม่เขียนรายงาน
8. ไม่ประหยัด ไม่คุมค่าใช้จ่าย
9. ไม่ซื่อสัตย์ ไม่พูดความจริง
10. ไม่มีวินัยในการรักษาเวลา รับปากแต่ทำไม่ได้ตามนัด