วันนี้อ่านข่าวแล้วรู้สึกหดหู่ที่เห็นนิสิตปริญญาโท มหาวิทยาลัยชื่อดังจบชีวิตตัวเองด้วยเหตุผลที่ว่าอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ยอมให้พบหรือไม่ยอมให้จบวิทยานิพนธ์ หรือด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ซึ่งเราไม่อาจทราบได้
เรื่องราวระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ในวงการเรียนป โท หรือ ป เอกของนักศึกษาและอาจารย์มีหลายหลาย หลากรส เปรี้ยวหวานมันเค็มว่ากันไป
โจกับจูเรียน ป เอก ทีมหาลัยแห่งหนึ่ง โจเพิ่งเริ่มเรียนเลยขอความเห็นจากจูรุ่นพี่ที่เรียนมากว่า 8ปี ยังไม่จบซักที "พี่จู ทำไมไอ้วิทยานิพนธ์อะไรนี่มันยากนักเหรอครับ หรืออาจารย์เค้ากั๊กพี่ไว้ทำงานให้"
"ก็เหนื่อยเหมือนกัน โจ"
"พี่ก็มีภาระต้องทำ ไหนจะงาน ไหนจะลูกเมียก็ต้องเลี้ยงดู"
จูนิ่งไปซักพัก ตาลอย มองหาคำตอบ
"แต่ พี่ว่า ไม่เป็นไร.. ว่ากำลังจะเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา แล้วจะถามว่าอาจารย์รู้มั้ยว่าลูกปืนนัดนึงน่ะ มันสามสิบบาทเอง"
อาจารย์โอเป็นอาจารย์หนุ่มไฟแรง ทำงานวิจัยเก่ง สอนดีลูกศิษย์เยอะ
อู๋ นักศึกษาต่างมหาลัย นักธุรกิจงานรัดตัว เรียนจบน่าจะได้เกียรตินิยม ติดวิทยานิพนธ์ตัวเดียว(ยี่สิบหน่วยกิต)
อู๋ได้ยินชื่ออาจารย์โอจากเพื่อนที่เรียนสาขาเดียวกัน จึงโทรศัพย์ติดต่อ ขอพบ
"เอ่อ.. จารย์ครับ คือผมยังไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษาเลยครับ" อู๋ถามกลัวๆกล้าๆ
"อ้าว ทำไมล่ะ ก็คุณมี คณะ..สาขานี้..แล้วทำไมบอกว่าไม่มีอาจารย์"
"คือนักศึกษาเยอะ อาจารย์ค่อยไม่มีครับ ส่วนใหญ่มากจาก ม.ของรัฐ ไม่ได้นั่งประจำครับ แค่มาสอนเป็นครั้งๆตอนเรียน อาจารย์ผมให้ออกมาหาที่ปรึกษาข้างนอกเอง" อู๋เริ่มชักแม่น้ำทั้งห้า
"อ้าว แล้วทำไมมหาลัยคุณไม่ได้ติดต่อมาเป็นทางการกับผมครับ ปรกติเป็นแบบนั้นไม่ใช่หรือครับ"
"คือ..เอ่อ ผมก็อยากมาปรึกษาอาจารย์นี่แหละ ครับ คือ..เอ่อ ผมก็ไม่ค่อยมีเวลา" แล้วมันจะเอาอะไรวะ(อาจารย์โอเริ่มงงงง)
"คือ.. ผมได้ยินว่า แบบว่า..มีเพื่อนเค้าให้อาจารย์คนอื่น ทำให้ทั้งหมดน่ะครับแล้วก็มีค่าทำให้"
"แล้ว..อาจารย์ทำแบบที่เพือนผมเค้าเคยทำได้หรือเปล่าครับ"
มีเรื่องจริงอีกมาก ที่ฟังแล้วว้าเหว่แบบเรื่องเหล่านี้
ระบบการเรียน ปริญญาโทถูกสร้างให้นักศึกษาต้องเรียนครึ่งนึง ทำวิจัยครึ่งนึง ซึ่งดีและผลิคคนดีๆให้สังคมมามาก
แต่คนส่วนใหญ่ไปเข้าใจเอาเองว่า ไอ้วิจัยหรือวิทยานิพนธ์นี่ก็แค่"วิชานึง"
เป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยเพราะมันคิดว่าก็แค่"วิชานึง"
พอเรียนไปก็สร้างเงื่อนไขให้ตัวเองและคนอื่นๆ ว่าต้องทำงานไปด้วย
งานก็ทำ วิจัยก็เอา เครียดกันทั้งคนเรียนคนสอน
หลักสูตรให้เรียน"เต็ม"เวลา ลองคิดดูท่าน"เต็ม"เวลาเหมือนตอนเรียนปตรีหรือมปลายหรือไม่ "จันทร์ถึงศุกร์ เช้าถึงเย็น"น่ะ เอาง่ายๆถ้านึกไม่ออก
ผู้ใหญ่ก็สร้างหลักสูตรนอกระบบแบบไม่ต้องทำวิจัย แต่ทำรายงานชิ้นเล็กๆพอ (ก็แล้วแต่จะเรียกสารพัดชื่อ)
บางท่านก็ไม่เลือกเรียน เพราะผู้ใหญ่ถือโอกาสเก็บเงินหลักสูตรแบบนี้แพง(มาก)
ผู้ใหญ่ไม่มี"ลูกค้า"ก็รับนักศึกษาเพิ่มมาเยอะๆเพื่อให้ภาพรวมมันคุ้มทุน
อาจารย์ก็เลยไม่พอ
อาจารย์ที่มีก็ต้องรับจ๊อบนอกบ้าง วิ่งกันไปวิ่งกันมาจนปวดหัว (สังเกตหรือไม่ว่าหลักสูตรชื่อคล้ายๆกันในหลายๆมหาลัย อาจารย์ก็หน้าเดิมๆวิชาเดิมๆ)
นักศึกษาตกค้างจบบ้างไม่จบบ้าง เยอะไปหมด วุ่นวายทั้งอาจารย์ทั้งลูกศิษย์
เวลานี้ในเมืองไทย ถ้าถามนักศึกษาที่กำลังจะจบปตรีว่าเรียนจบจะทำอะไรต่อ
เกินครึ่งบอกว่าจะต่อโท ถามต่อว่าทำไม คำตอบคือ เดี๋ยวนี้ปตรีมันไม่พอ แต่กลับไม่รู้ว่าไม่พอกับใคร กับตัวเอง หรือสังคม แล้วรู้หรือไม่ว่าอะไรรอคุณอยู่ เรียนปโทเป็นเรื่องดีมาก แต่ท่านพร้อมกับมันหรือไม่
สังคมไทยวัดคุณค่าของคนด้วยขั้น ฐานะและชั้นวรรณะ ไม่ใช่ตัวตนหรือสิ่งที่เราทำ
สังคมเราเป็นอย่างที่เป็น เพราะสังคมเข้าใจผิดเป็นอย่างยิ่งถึง"รากเหง้า"ของจุดมุ่งหมายของการศึกษา
No comments:
Post a Comment