Wednesday, 21 January 2009

Design Is... …”fashion that embraces the nature” 20-1-2009



ปีที่ผ่านมาหันไปทางไหนก็เห็นแต่เรื่องเครียดๆนะครับ ปีใหม่แล้วหวังว่าผู้อ่าน MH ทุกท่านจะมีแต่สิ่งๆดีๆเข้ามาทดแทนเรื่องหนักๆที่ผ่านมาแล้วก็อยากให้ผ่านไปนะครับ


ก็ด้วยอะไรช่วงนี้ที่มันหนักๆเหลือเกินทั้งเศรฐษกิจการเมือง น้องๆอยากให้ผมคุยเรื่องอะไรก็ได้สวยๆแต่เบาๆ ที่เกี่ยวกับที่งานออกแบบและตกแต่งบ้านหรือสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทในไลฟ์สไตล์ของสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งความหมายของตัวงานออกแบบสมัยใหม่ที่ว่านั้นจริงๆแล้วสอดแทรก(แบบแอบๆ)รวมอยู่ในทุกสิ่งในในไลฟ์สไตล์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นแทรนด์ล่าสุดของ แฟชั่นของเสื้อผ้าจาก Paris Fashion week หรืองานแฟร์ด้านเฟอร์นิเจอร์หรือกระเบื้องหิน งาน engrave สารพัดที่ Milan และ Bologna กินดื่มแบบ Haute Cuisine ที่ตอนนี้ชื่อชั้นเหนือกว่า Michelin Star คอนเซ็บของบ้านหลังที่สามหรือสี่เพื่อชีวิตที่ไม่เหมือนใคร จนถึงการเดินทางด้วยชั้นธุรกิจ (หรือดีกว่านั้น) บนเครื่องที่ออกแบบโดย Phillip Stark รถยนต์มายบัคที่มาพร้อมงานดีไซน์ระบบเสียงของ Marc Levenson เข้าพักใน Design Hotels ที่ตอนนี้มีให้เลือกจนวิจารณ์ไม่ทัน ก็ด้วยเรื่องที่หลากหลาย(และหลากรส)ของที่งานออกแบบที่ผมจะคุยแบบเล่าไปเรื่อยๆในแต่ละครั้งบวกกับความหมายของงานดีไซน์ซึงอธิบายได้ในทุกฟังค์ชันของวิถีชีวิต จึงเป็นที่มาของ Design Is…







ตอนกรุงเทพอากาศหนาวๆแบบนี้ ผมซึ่งมีชีวิตผูกติดกับซอยทองหล่อ ต้องขับรถผ่านแถวสุขุมวิททุกวันเห็นร้านอาหารหลายๆหลายแห่งที่มีสวนเก๋ๆ เริ่มเอาที่นอนหมอนมุ้งออกมาหากางหาสเปซให้ลูกค้านั่งเล่นชิลชิล เปิดบาร์กลางแจ้งชมดาว มีดีเจเปิดเผ่น(หรือMP3)เพลงแบบretro chilly ปั้นบรรยากาศ แหม ก็เข้าใจนะครับ ว่าบ้านเราไม่ว่าจะออกแบบ layout ของบ้านหรืออาคารเพื่อให้เผื่อพื้นที่สวนหรือพื้นที่เปิด outdoor กว้างขนาดไหนก็น้อยนักที่จะได้ใช้ออกมาตากลมชมนก enjoy แดดแบบฝรั่งได้จริง(เพราะเหงื่อซึมตั้งแต่พยายามเปิดประตูบานเลื่อนใหญ่แล้วเจอลมร้อนมาต้อนรับ) ยิ่งในกรุงเทพเราตอนนี้ต้นไม้ใหญ่จริงๆหายากขึ้นทุกวัน จนบางครั้งการออกแบบเพื่อตกแต่งและปรับปรุงบ้านถึงแม้เจ้าของบ้านจะใจดีอนุญาติให้ทุบบ้านเก่าได้ทั้งหลัง สถาปนิกดันได้รับโจทย์ให้ออกแบบทุกสิ่งรอบๆต้นไม้แบบห้าม ตัด แตะ แต่ง (คือจริงๆแล้วยากนะครับและเรื่องทิศทาง ลม เพื่อนบ้าน หรือข้อกำหนดทางกฏหมาย สถาปนิกกับมัณฑนากรคงต้องช่วยกันหมุนแบบบ้านไปๆมาๆจนเหนื่อยมากก่อนจะสวย)




ทีนี้เมื่อความเป็นจริงเราอาจจะออกมาสัมผัสอากาศ(ร้อนๆ)นอกบ้านในพื้นที่เปิดโล่งหรือสวนตามแทรนด์การออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้ไม่มากนัก เราก็คิดว่าก็เอามาสวนโชว์อย่างเดียวก็ได้ เข้าทำนองจับไม่ได้แต่ขอให้ดูก็ยังพอไหว งานออกแบบสมัยใหม่หรือร่วมสมัยตอนนี้จึงมักจับเอา Outdoor Elements ต่างๆมาเล่นโดยเพิ่มองค์ประกอบที่น่าสนใจของกิ่งก้านต้นไม้ลมฟ้าอากาศลงบนลวดลายและพื้นผิวของเฟอร์นิเจอร์ ทั้งนี้เพื่อให้บ้านดูสนชื่นอยู่ตลอดเวลาและสะท้อนให้เห็นถึงความเป็น Outdoor Living ทั้งจากภายในและภายนอกที่เรียกว่า Organic Design ตอนนี้เทรนด์การตกแต่งและออกแบบจากต่างประเทศเริ่มแรงตามกระแสบ้านเปิดโล่งซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ทั้งจาก เฟอร์นิเจอร์ธรรมดาในสวนทั้งที่นั่ง พรมหรือแม้แต่กรอบรูป แจกัน ผ้าบุ ผ้าปู เมืองไทยเรามีผู้ผลิตงานเฟอร์นิเจอร์เอาท์ดอร์ดีไซน์ขาดใจดีๆอยู่หลายที่นะครับ ลองดูแถวสุขุมวิทหรือซอยกลางสิครับ


พูดถึงงานเอาท์ดอร์แล้วคงอดพูดถึงงานออกแบบบ้านตามเทรนด์นิยมแบบ NeoModernไม่ได้ ครั้งหน้าผมไปดูกันครับว่าบ้านขาวๆเรียบๆโล่งๆ ประตูบานใหญ่หน้าต่างช่องเปิด oversized อย่างที่ฮิต(และฮิบๆ)กันตอนนี้ มันเข้ากับไลฟ์ไสตล์กินดื่มของคนเมืองแบบเราและยังสื่อให้ให้ภาพชัดๆของ Organic Design ได้อย่างไร

Figure 1 พรมทอ Paolo Lenti
Figure 2 ชิงช้าในสวน Nick Rawcliffe
Figure 3 แจกันโดย Tord Boontje
Figure 4 Duvet, Sheets โดย Amenity

Tuesday, 6 January 2009

สถาปนิก วิศวกร ความเหมือนบนความแตกต่าง

มาดูพื้นฐานวิธีคิดและวิธีการทำงานกันครับ

วิศวกรจะคิดถึงผลลัพธ์ก่อนทำงาน
สถาปนิกจะคิดถึงการทำงานก่อนผลลัพธ์

วิศวกรจะต้องการทำงานที่เห็นภาพง่ายๆ
สถาปนิกจะทำงานง่ายๆให้มีมิติซับซ้อนแต่น่าสนใจยิ่งขึ้น

วิศวกรจะแปลโจทย์จากสิ่งที่จับต้องได้หรือมีอยู่ในมือ
สถาปนิกจะใช้โจทย์เพื่อหามุมมองของสิ่งที่จับต้องได้และคิดว่าจะใส่มันกลับเข้าไปในมืออย่างไร

สิ่งที่แปลกคือระบบการศึกษาและสังคมไทยๆไม่ทำให้ทั้งสองวิชาชีพ ที่มีวิธีคิดและทำงานที่น่าทึ่งแบบนี้ผสามผสานหาความลงตัวกันได้อย่างดีเลย

เราผ่านช่วงที่เศรษฐกิจบูมมาหลายครั้ง ไหนละครับงานที่น่าสนใจจริงที่แสดงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมในทุกบริบท

โลกเค้าไปกันไกลแล้วครับ

โครงสร้างสังคมบอกอะไรได้บ้างในมิติของอสังหาแบบไทยๆ

งานสร้างบ้านใหม่หรืองานปรับปรุงอาคาร อสังหาริมทรัพย์แบบไหนกันแน่ที่เป็นทรัพย์ที่มองไม่เห็น