Friday, 30 July 2010

Intelligence, Paradox และ Creativity




หลายปีมานี้เห็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับ Intelligence และ Success แล้วใจหนึ่งก็ดีใจ ใจหนึ่งก็หวั่นไหวครับ
...
นักเรียนระดับมัธยมของไทยประสบความสำเร็จได้เหรียญทองโอลิมปิค เคมี ฟิสิกส์ ส่งไปกี่คนได้เหรียญกันมาครบ สอยกันเป็นว่าเล่น
ทีมนักศึกษาไทยไปแข่งขัน โครงการสร้างหุ่นยนต์ (Robot) ประเภทต่างๆ ไม่ว่าเตะฟุตบอล กู้เก็บสิ่งของ เก็บกู้ระเบิด หรือทำ task อื่นที่เริ่มซับซ้อนมากขึ้น
สถาปนิก ดีไซน์เนอร์ ผู้กำกับไทยได้รับรางวัล ได้รับการยอมรับระดับโลก ระดับนานาชาติ ในเรื่องฝีมือการออกแบบ การสรรค์สร้างอะไรๆที่เป็นศาสตร์ใดๆของงาน Creative
...
ดีใจว่าทรัพยากรของเรามี Intelligence แต่หวั่นไหวว่าใน Success ที่ได้รับ ว่าไม่มีอะไรที่รู้สึกได้ถึงความยั่งยืน (Sustainability) ของ Creativity

มีนักเรียนไทยกี่คนที่ได้เหรียญทองฟิสิกส์มาแล้วกลายเป็นวิศวกรของ NASA หรือมีนักเรียนไทยที่ได้เหรียญทองเคมีกี่คน น่าจะต่อยอดไปได้รับรางวัลโนเบลด้านการปลูกถ่ายอวัยวะโดยค้นพบยาชนิดใหม่

มีหุ่นยนต์ที่เป็นผลงานจริงๆของคนไทยกี่ตัวที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตรถยนต์ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้งานทางการทหาร หรือใช้งานทางวิทยาศาตร์การกีฬา เท่าที่ทราบเราก็ซื้อเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาจากประเทศอื่นทั้งสิ้น (และแพงมาก)

มีสถาปนิกไทยกี่คนที่ออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่เป็น Iconic จริงๆของประเทศ หนังไทยที่ได้รับรางวัลบอกอะไรเราได้ในแง่การรับรู้รสชาดของภาพยนต์ของคนไทย แล้วดีไซเนอร์ไทยสร้างแบรนด์ดิ้งระดับโลกได้ซักกี่แบรนด์

...

ที่เป็นแบบนี้ ก็เพราะเรา “สับสน” ครับ

เราสับสนแบบคิดเผินๆว่า เด็กไทยนี่เก่ง.. ทราบไหมครับว่า กว่าเราจะส่งเด็กที่ดูจะมีพรสวรรค์หรือ gifted ทางด้านวิชาการที่ได้กล่าวมา เราต้องมานั่งค้นหากว่าจะค้นพบ จากนั้นต้องพาเด็กๆเหล่านั้นไปเก็บตัวกันเป็นเดือนๆ(หลายกรณีเป็นปีๆ) เพื่อติวเข้มกับอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยในระดับมหาวิทยาลัย หรือระดับการศึกษาที่สูงกว่าระดับปรกติในประเทศของเด็กคนนั้นๆ

เราสับสนแบบคิดเอาเองว่า ความสำเร็จคือการเอาชนะเพื่อให้ได้รางวัลมาแล้วหยุดการพัฒนาการต่อยอดเพื่อให้การวิจัยหุ่นยนต์ของเราเอามาใช้ได้จริงทางการพาณิชย์ (ที่ต้องลงทุนสูงมากทั้งด้านความคิดและทรัพยากร)

เราสับสนว่าแบบไม่อยากจะรับรู้ ว่างานออกแบบที่จะทำให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนต้องมองที่รากของงานนั้นๆ ผ่านสายตาของผู้มองครับ ไม่ใช่เจ้าของงานหรือผู้สร้าง ทุกวันนี้สถาปนิกยังเถียงกันเองว่ากรุงเทพเองมีจุดเด่นหลายอย่าง เลยไม่มีอะไรที่เป็น Iconic architecture ทุกวันนี้สถาปนิกยังโทษว่าประเทศไทยหรือจังหวัดต่างๆไม่มีการวางผังเมืองเลยไม่มีโอกาสสร้างอะไรที่เป็น Iconic architecture ดีไซเนอร์ยังไม่รู้ว่าการสร้างแบรนด์ยุคนี้มันต้องมอง Local ไปหา Global ไม่ใช่ไปดูตัวอย่างหรือเอาอย่างจาก Global มาประยุกต์ใช้กับงาน Local
...
เราสับสนเพราะเราพยายามสร้างสรรค์แต่ไม่รู้จักการจัดการ มุมที่ขัดแย้งกัน (Paradox) ของ Creativity
...

Paradox มาจากคำกรีกโบราณสองคำคือ para ที่แปลว่า beyond และคำว่า doxa ที่แปลว่า opinions เป็นคำที่อาจจะสื่อสารอธบายเป็นภาษาไทยได้ง่ายๆว่า Paradox คือเรื่องราวหรือปรากฏการณ์ที่ยากที่จะเป็นไปได้ที่จะทำความเข้าใจเนื่องจากมีความจริงที่แตกต่างกันมากจากทั้งสองด้าน

Paradox of Creativity ในมุมมองของการทำธุรกิจบนพื้นฐานของ Creative Economy คือการทำความเข้าใจกับ เรื่องที่ขัดแย้งกันของ Idea ที่น่าจะเป็นไปไม่ได้ นำเอามาสร้างให้เป็นมูลค่าทางธุรกิจเป็นกระบวนการที่ต้องเกิดขึ้นตลอดเวลาครับ และเพื่อสร้างให้ Creative Idea ที่ดูเหมือนจะยากในการนำมาใช้งานเอามาสร้างเม็ดเงินหรือผลกำไรได้จริงนั้น
อย่างแรก ผู้สร้างสรรค์งานต้องเข้าใจว่างานดีๆที่สร้างสรรค์และประสบความสำเร็จมักมาโดยไม่รู้ตัวจากความพยายามที่ผิดพลาดหลายพันหลายหมื่นครั้ง

I have not failed. I've just found 10,000 ways that won't work,
Thomas Edison


และอย่างที่สอง ผู้สร้างสรรค์งานต้องเข้าใจว่างานดีๆที่มีความสร้างสรรค์มักเกิดจากความพยายามในการสร้างสรรค์ค้นหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมาจากความพยายามคนละเรื่อง หรือมีเป้าหมายจากคนละทิศคนละทาง
ทราบไหมครับ ว่าคีย์บอร์ดที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มาจากความพยายามที่จะหาเทคนิคการปิดจุกไวน์เพื่อให้ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของไวน์ ขณะที่กำลังศึกษาเทคนิคการคั้นน้ำองุ่นเพื่อทำไวน์

หรือใกล้ตัวเราหน่อยก็ ตำนานของชีวิตล้มลุกคลุกคลานของคุณตัน ภาสกรนที กับชาเขียวโออิชิ ที่เกิดจากการที่ลูกค้ามาต่อว่าคุณตัน เพราะต้องการเอาชาเขียวที่ติดใจในรสชาดจากร้านบุ๊ฟเฟ่โออิชิ เพื่อใส่ถุงกลับบ้าน แต่ทางร้านกลับบอกว่าชาเขียวที่นี่ไม่ได้ขาย เราขายแต่อาหารบุ๊ฟเฟ่! ตอนหลังคุณตันเลยได้ไอเดียเอาชาเขียวมาใส่ขวดขาย เริ่มจากโรงงานเล็กๆกลายมาเป็นตำนานอาณาจักรโออิชิและปรากฏการณ์ชาเขียวของเมืองไทยในทุกวันนี้

Success is an ability to go from failure to failure without losing enthusiasm,
Sir Winston Churchill
...

เพราะ Intelligence ไม่ได้รับประกันความสำเร็จอย่างยั่งยืนในชีวิต แต่ Creativity สามารถทำในสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้เกิดขึ้นได้จริง แถมยังได้ที่จะไม่ทำให้“สับสน” ได้อะไรที่คงไว้ซึ่ง ความแตกต่างแบบไม่แตกแยก
เพราะเกิดจากวิธีคิดแบบ“ความแปลก”ด้วย Paradox อยู่เสมอ

2 comments:

awm kr said...

ตอนนี้กำลังรู้สึก fail ในชีวิต เพราะยังหางานที่ตรงกับความสามารถเฉพาะทางของเรา ไม่ได้ พอได้มาอ่านบล็อกนี้แล้ว ได้กำลังใจและมุมมองที่กว้างขึ้นค่ะ ขอบคุณค่ะ

กุลเดช สินธวณรงค์ said...

ดีใจครับ งานเก่าๆของผมจะออกแนว life inspiration มากกว่านี้ครับ

Post a Comment